Ban-Nokkamin-Foundation

ประวัติและความเป็นมา ‘มูลนิธิบ้านนกขมิ้น’

มูลนิธิบ้านนกขมิ้น ก่อตั้งปี พ.ศ.2532 ผู้ก่อตั้ง คือ Mr.Erwin Groebli โดยท่านเป็นมิชชั่นนารี ที่มาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งบังเอิญได้ไปพบกับเด็กเร่ร่อนกลุ่มหนึ่ง บนถนนรามคำแหง กรุงเทพมหานคร และมีความรู้สึกสงสารเด็กตาดำๆ ไร้บ้าน Mr.Erwin จึงเช่าห้องพักให้แก่เด็กเหล่านั้น  เพื่อใช้เป็นที่นอนหลับพักผ่อน ต่อมาเด็กเหล่านั้น ก็ได้ชักชวนเพื่อนๆ เด็กเร่ร่อนมามากขึ้น และนี่จึงกลายมาเป็นบ้านนกขมิ้นที่ได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันนี้

Nokkamin-Foundation

กว่าจะมาเป็น ‘มูลนิธิบ้านนกขมิ้น’ ในปัจจุบันนี้

เด็กเร่ร่อน ไร้บ้านเป็นอีกหนึ่งปัญหาของประเทศไทย ที่ยังแก้ไม่สำเร็จเสียที ไม่ว่าจะผ่านมานานแค่ไหน ถึงแม้ว่าในหลายๆภาคส่วนจะพยายามหาทางร่วมมือร่วมใจแก้ไขกันมานานแล้ว เพราะปัญหาเด็กเร่ร่อน ไร้บ้าน เกิดจากหน่วยสังคมขนาดเล็กที่สุด นั่นก็คือ สถาบันครอบครัว นั่นเอง โดยการแก้ปัญหานี้ จึงจำเป็นต้องใช้ทั้งเวลารวมทั้งอาศัยความรักความเข้าใจในขั้นสุดยอด

‘ครูอ๊อด’ แห่งมูลนิธิบ้านนกขมิ้น

ครูอ๊อดผู้อำนวยการแห่งมูลนิธิบ้านนกขมิ้น เป็นครูผู้มีหัวใจศรัทธาอย่างแท้จริง ด้วยจุดหมายอยากช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้น ครูอ๊อดจึงทำงานเพื่อเด็กเร่ร่อนมาเป็นเวลานานถึง 30 ปีแล้ว โดยการก่อตั้งหมู่บ้านนกขมิ้น Mr.Erwin Groebli ไม่รู้ว่าจะหาเด็กเร่รอนได้จากไหน ไม่รู้ว่าสามารถประสานงานได้อย่างไร ในขณะที่ครูอ๊อดเอง ณ ตอนนั้นก็เป็นครูข้างถนน และดูแลเด็กไม่มีบ้านกว่า 20 คน ครูอ๊อดเข้าร่วมโครงการจิตอาสาเป็นประจำ จนกระทั่งครูจึงมีโอกาสได้รู้จักกับ Mr.Erwin Groebli จึงทำให้เกิดโครงการดีๆ เหล่านี้ขึ้นมา

เด็กไร้บ้านแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน และเมื่อปัญหาของเด็กแตกต่างกัน ครูอ๊อดจึงต้องเข้าใจในเรื่องราวของเด็กๆ ทุกคน เมื่อทราบปัญหาแล้ว ก็จะได้หาทางช่วยเหลือต่อไป

มูลนิธิบ้านนกขมิ้น ให้ความสำคัญกับหน่วยครอบครัวมากที่สุด เนื่องจากคำว่า ‘ครอบครัว’ จัดตัวแปรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะนำมาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กด้วยเหตุนี้การดูแลเด็กในมูลนิธิ จึงเป็นการดูแลในบรรยากาศของครอบครัว ซึ่งมีการจำลองครอบครัวใหม่ให้แก่เด็กๆ โดยมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิบ้านนกขมิ้น ซึ่งเป็นคู่สามี-ภรรยา จริงๆ ทำหน้าที่เป็นพ่อ-แม่ให้แก่เด็ก ใน 1 ครอบครัว มีเจ้าหน้าที่เลี้ยงลูกประมาณ 10 คน  ภายในครอบครัวต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะ พ่อ-แม่ พี่-น้อง เฉกเช่นครอบครัวปกติทั่วไป หากแต่เป็นครอบครัวมีลูกเยอะเท่านั้นเอง โดยเด็กทุกคนจะได้รับความรัก ความอบอุ่น  รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่จากพ่อ-แม่ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้เด็กทุกคน จะยังได้รับโอกาสทางการศึกษาไปตามความสามารถของแต่ละคน เพื่อในอนาคตเขาจะได้กลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ