Category Archives: Relevant Content

มูลนิธิสวนแก้ว

มูลนิธิสวนแก้ว เพื่อพัฒนาสังคมคุณภาพชีวิต

วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ที่มี “พระพยอม กัลยาโณ” เป็นเจ้าอาวาส คืออีกหนึ่งสถานศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวนนทบุรี รวมถึงผู้คนละแวกใกล้เคียงนิยมเดินทางไปแวะเวียนเยี่ยมชม พร้อมกับทำบุญ ถวายสังฆทาน ฟังเทศน์ฟังธรรมกันอยู่บ่อยๆ เนื่องด้วยตัววัดนั้นมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก เริ่มตั้งแต่ด้านหน้ามีการตั้งขายสินค้ามือสอง ขายพืชผลทางการเกษตร ส่วนภายในวัดจะมีทั้งบริเวณถวายสังฆทาน มีทั้งสวนแยกต่างๆ รองรับนักท่องเที่ยว ทั้งที่ให้อาหารสัตว์ ,สวนน้ำตก และศาลากลางน้ำ ส่งผลให้วัดแห่งนี้จึงได้รับความสนใจจากผู้คนมากมาย ที่สำคัญยังจัดเป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติเรื่องราวน่าศึกษาอย่างมาก ซึ่งก็แน่นอนว่าบทความนี้จะขอพาไปรู้จักกับประวัติความเป็นมาของวัดสวนแก้วหรือมูลนิธิสวนแก้วกัน

วัดสวนแก้ว อยู่ที่ 55/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดร้างมานานถึง 80 ปี จากนั้นได้มี “หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ”เข้ามาพำนัก ร่วมกับพระภิกษุอีกประมาณ 4 รูป ณ เวลานั้นเนื่องจากพื้นที่บริเวณของวัดล้วนเต็มไปด้วยเรือกสวน หลวงพ่อเทียนจึงมีความประสงค์ต้องการบูรณะวัด แต่ก็ไม่สามารถทำการบูรณะได้ เพราะขาดบุคลากรในการจะช่วยพัฒนา ถัดมาในปีพ.ศ.2521 “พระพยอม” ได้เดินมายังวัดแก้วร่วมกับเพื่อนพระภิกษุ เพื่อกราบไหว้หลวงพ่อเทียน พร้อมกับขอจัดทำโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อนที่วัดแห่งนี้ และแล้วหลวงพ่อเทียน ท่านก็ได้ตอบรับอนุญาต ที่สำคัญท่านยังช่วยสนับสนุนโครงการดังกล่าวอย่างเต็มที่ ด้วยการเป็นพี่เลี้ยงให้เณร

แต่ทว่าในปีพ.ศ.2522 หลวงพ่อเทียนกลับตัดสินใจมอบหมายให้พยอมและพระภิกษุรูปอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลวัดแก้วต่อไป ส่วนตัวหลวงพ่อเทียนท่านได้เดินทางกลับจังหวัดเลย หลังจากนั้นพระพยอม ท่านทรงทุ่มเทชีวิต กาย ใจเพื่อดูแล รักษาวัดแก้วอย่างเต็มที่ ด้วยการนำทรัพย์สินส่วนตัวมาพัฒนา บูรณะวัด และในภายหลังวัดก็ถูกเปลี่ยนชื่อจากวัดแก้วไปเป็น “วัดสวนแก้ว” โดยพระพยอมได้ทำการพัฒนาบริเวณพื้นที่ของวัด รวมถึงยังได้จำลองให้วัดแห่งนี้เป็นสวนโมกขพลาราม ตามคำที่ท่านพุทธทาสภิกขุเคยปรารภ เมื่อคราวที่ท่านยังศึกษาธรรมอยู่ ณ สวนโมกข์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาหลังจากที่ท่านพัฒนาวัดจนมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว ท่านก็ได้เดินหน้ามุ่งเผยแพร่พุทธศาสนาอีกครั้ง

Suan-Kaew-Foundation

ปีพ.ศ.2529 เนื่องจากเป็นปีที่พระพยอมได้รับกิจนิมนต์มาก จึงทำให้ท่านทราบถึงปัญหามากมายของผู้คนระดับกลางลงมา แน่นอนว่าบรรดาผู้คนเหล่านั้นมีพฤติกรรมที่ไม่ดีเอาซะเลย ทั้งใฝ่ต่ำเรื่องเพศ เรื่องเหล้า เมายา ไม่เคยคิดจะพัฒนาตัวเองใดๆ เป็นต้น ดังนั้นพระพยอมจึงได้ทำการรวบรวมทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านอีกครั้ง ซึ่งมีอยู่ในจำนวนที่ไม่มากนัก เพราะก่อนหน้าได้นำไปพัฒนาวัด โดยในครั้งนี้ท่านนำทรัพย์ส่วนตัวไปซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงออกไปอีก เพื่อความสะดวกในการบริหารงานช่วยสังคม รวมถึงท่านยังมีปณิธานเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พร้อมๆ กับการเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า จนนำไปสู่หนทางเพื่อให้ทุกๆ คนได้รู้จักการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง จนในที่สุดพระพยอมก็ได้จัดตั้งมูลนิธิสวนแก้วขึ้นมา ซึ่งตรงกับปีพ.ศ.2529 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้

  • เพื่อเผยแผ่ศีลธรรมในศาสนา
  • เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี
  • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนดีมีสัมมาชีพ

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2548 ทางมูลนิธิสวนแก้วยังได้รับการรับรองให้กลายเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ (ทะเบียนเลขที่ 0163) ตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ภายใต้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อีกด้วย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 6 ประการ ดังนี้

  • เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • เพื่อส่งเสริมศีลธรรม จรรยาอันดี
  • เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย
  • เพื่อทำงานร่วมกับองค์การการกุศล เพื่อสาธารณประโยชน์
  • ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
  • จัดการศึกษาและส่งเสริมการศึกษา
Sosa-Foundation-pic

ประวัติและความเป็นมามูลนิธิโสสะ

มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย มีจุดประสงค์ในการดำเนินหลัก คือ มีความปรารถนาอันแรงกล้าในการช่วยเหลือเหล่าเด็กๆ ที่สูญเสียบิดา-มารดา ไร้ญาติขาดมิตร มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ภายใต้ระบบครอบครัวทดแทนถาวรระยะยาว โดยมีท่านผู้หญิงสมศรี เป็นผู้ก่อตั้ง หลังจากนั้นก็มีคณะกรรมการเข้ามาร่วมด้วยมากมาย โดยท่านได้นำวิธีเลี้ยงดูเด็กมาจากหมู่บ้านเด็ก SOS Children’s Villages ของ Dr. Hermann Gmeiner ชาวออสเตรีย โดยท่าน คือ ผู้ก่อตั้งองค์กรหมู่บ้านเด็ก SOS Children’s Villages International ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบทั่วโลก

มูลนิธิเด็กโสสะ แห่งประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์กร หมู่บ้านเด็ก SOS Children’s Villages International โดยในปัจจุบันนี้ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 135 ประเทศ

มูลนิธิเด็กที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาแห่งนี้ ก่อตั้งวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยได้ทำการจัดสร้างหมู่บ้านเด็กแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2515 โดย ท่านผู้หญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์ ผู้มีจิตใจอันเปี่ยมไปด้วยความเมตา ได้บริจาคที่ดินจำนวน 10 ไร่ 2 งาน เพื่อนำมาสร้างหมู่บ้านเด็กโสสะ จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งเป็นมูลนิธิ SOS Children’s Villages แห่งแรกของประเทศไทย

Sosa-Foundation

หลักการดำเนินงานของ ‘มูลนิธิเด็กโสสะ’ แห่งประเทศไทย

มีจุดประสงค์ช่วยเหลือเด็กที่ ไร้พ่อ-แม่และญาติมิตร รวมทั้งเด็กที่ครอบครัวไม่อาจเลี้ยงดูได้อีกต่อไป เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้น ได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอีกครั้ง ด้วยการสร้างครอบครัวทดแทนถาวร ซึ่งให้การเลี้ยงดูเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม ในบรรยากาศครอบครัวอันอบอุ่น สนิทสนม กลมเกลียว อันเต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา ห่วงหาอาทร เพื่อให้เด็กได้เจริญเติบโตขึ้นจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ ทำให้เด็กๆ ได้รับการศึกษามีคุณภาพรับรอง ตามที่มูลนิธิเด็กโสสะ แห่งประเทศไทยสามารถมอบให้ได้ จนเด็กเมื่อเจริญเติบโต สามารถออกไปประกอบชีพเลี้ยงดูตัวเองได้อย่างแข็งแรง อีกทั้งต้องอาศัยอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ต่างมุ่งมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมอันเป็นมิตร เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของเด็ก เพื่อให้เด็กทุกคนได้มีความทรงอันเปี่ยมสุข ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเมตตา รวมทั้งการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ตลอดจนได้รับความคุ้มครองครอบครัวเสมือนจริงอย่างเข้มแข็ง โดยมูลนิธิเด็กโสสะ แห่งประเทศไทย คือ บ้านแห่งความรัก ของเด็กๆ ทุกคน คอยอ้าแขนต้อนรับเด็กผู้ต้องการเติมเต็ม

มูลนิธิเด็กโสสะ แห่งประเทศไทย มีความแตกต่างจากองค์กรช่วยเหลืออื่นๆ อย่างไร

มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย มุ่งมั่น เลี้ยงดูเด็กภายใต้สิ่งแวดล้อมของครอบครัว อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ให้เจริญเติบโตในหนทางที่เหมาะสม ตั้งแต่วัยเด็กจนเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ สามารถออกไปประกอบอาชีพสุจริตพึ่งพาตัวเองได้